Je Mange. Donc, Je Suis.

Monday 27 February 2012

Takuapa Kopi Tiam & Co.

สมัยเป็นเด็ก อาหารเช้าที่โปรดปรานมากที่สุด นอกจากเป็นอาหารคาวจำพวก ข้าวต้มหมูสับเหยาะแม็กกี้ ขนมจีบ ไส้กรอก ไข่ดาว ข้าวผัด แล้ว... ยังมีขนมพื้นเมืองชื่อแปลกๆ หลายชนิด ที่ได้ทานอยู่บ่อยๆ ทานคู่กับโอวัลตินชงใหม่ๆ หอมๆ... ส่วนพวกผู้ใหญ่ก็ทานขนมพวกนี้ กับกาแฟร้อนที่เรียกว่า "โกปี๊อ๊อ" หรือ ชาร้อนที่เรียกว่า "เซล้อง" จึงพอจะเดาได้ว่า คำว่า "โกปี๊-kopi" ได้รับอิทธิพลมาจากภาษามาเลย์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษาโปรตุกีสมาอีกทอดหนึ่งในยุคอาณานิคม คำว่า "เซล๊อง-Ceylon" น่าจะมาจากชาดำจากซีลอนประเทศศรีลังกาในสมัยอาณานิคมเช่นกัน ซึ่งชาวโปรตุเกสเรียกเมืองนี้ว่า "Ceilão" ก่อนชาวอังกฤษจะเข้ามายึดครองและเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น "ซีลอน-Ceylon"ส่วน "อ๊อ-0/oh" หมายถึง ดำ หรือเป็นที่เข้าใจได้ว่า "ไม่ใส่นม"...
Coffee with condensed milk

My nostalgic breakfast...
as I could recall back then, was not only a set of rice porridge with pork-chop Chinese style, seasoned with Maggi, Dim sum, fried sausages, fried egg and fried rice, but also various kinds of local sweets with weird names, served with a mug of hot malted chocolate drink "Ovaltine". For grown-ups, especially men at work, they would prefer to be mingled at their favorite Kopi tiam (or coffee shop) with some typical offerings: various menus based on egg, toast, kaya (coconut jam) and local sweets, served with coffee, tea, malted chocolate drink or soy milk and 4 Cs : Complimentary Chirpy Chit-Chat:-))
Note: Coffee Shop Chit-Chat is a phrase used to describe gossip because it is often a familiar sight at kopitiams where a group of workers or senior citizens would linger over cups of coffee and exchange news and comments on various topics including food & drinks, national & local politics, "Do you know who's going out with whom" stuff, TV melodramas, cars, sports and weather...

The one and only Apong stall in Takuapa, 
(recipe inherited from grandma)
in front of 7/11 store, Petchakasem Road 
ขนมที่ตอนเด็กๆได้ทานอยู่บ่อยๆ แล้วนึกขำกับชื่อของขนมที่มีชื่อว่า "อาโป๊ง" เคยถามผู้ใหญ่หลายๆคน แต่ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าที่มาที่ไปของชื่อขนมนี้มาจากไหน จนกระทั่งปีที่แล้วจึงถึงบางอ้อ ว่าแท้จริงแล้วชื่อนี้ก็ได้จากขนมเบื้องโบราณอินเดียชื่อ "อาปอม"ที่แพร่เข้ามาในแหลมมลายู โดยที่ปีนังจะเรียกขนมนี้ว่า "อาโป๊ง บาลิก" หรือ "อาปอม บาลิก" ต่างจาก อาปอมของอินเดียคือ อาปอม บาลิก ขอบขนมจะไม่กรอบ รสชาติคล้ายแพนเค้กและนิยมใส่ไส้กล้วยหรือมะพร้าว แต่ อาโป๊งแบบเปอรานากันที่ตะกั่วป่าขอบขนมจะกรอบบางแต่ข้างในจะหนานุ่ม เวลาเคี้ยวจะได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บในปากพอเพลิดเพลิน และเศษขนมจะร่วงเป็นเศษเล็กเศษน้อย ต้องเอามือป้อง หรือใช้จานรองขณะทาน:-)และคงไม่แปลกที่ เด็กเอิด*อย่างเราจะเลือกแทะเฉพาะขอบที่กรอบแล้วเหลือตรงกลางไว้ (ให้ใครกินจ๊ะ?) เหมือนเวลากินซาละเปาจะเจาะกินแต่แป้งที่ติดซอสของไส้หมูสับข้างใน ส่วนไส้หมูสับกับแป้งขอบนอก (เก็บไว้ให้ใครกินจ๊ะ?).นิสัย !!!:-)
ปล * เป็นภาษาถิ่นทางปักษ์ใต้ หมายถึง เด็กจอมแก่นและซ่า
--------------------------------
The making of Chinese Apong in a small wok.
Ingredients of the Apong: coconut milk, rice flour, eggs, sugar and salt.
"Apong"
One of my nostalgic sweet treats is Chinese "Apong" (or Chinese crispy pancake), similar family as the "Apom" (Indian pancake) with its flakiness characteristic: thin as aerogramme and crispy on the side while the middle is soft and thick as honeycomb-like steamed rice cake. Here in Takuapa, unlike the popular "Apong Balik" in Penang, the Apong is plain without banana or other forms of fillings. I just love the sound of crispy-flaky bits in my mouth whilst gobbling up 2 or more:-) la gourmande!!!

ถัดจากขนม "อาโป๊ง" ก็มีขนมชื่อแปลกที่ชาวตะกั่วป่านิยมทานเป็นอาหารเช้าตามร้านกาแฟทั่วไป หรือในตลาดเช้า ชื่อขนม "โกซุ้ย"
Brown sugar flavored "Kosui"
Pandan flavored (steamed) Rice Cake
ชื่อขนม "โกซุ้ย" ตอนเด็กๆ คิดว่าอาโก ชื่อ "ซุ้ย" เป็นคนทำ ภายหลังจึงทราบว่ามีที่มา จากวัฒนธรรมเปอรานากัน เพราะที่หลังครัวหรือในตลาดเช้าปีนัง พบขนมที่มีชื่อว่า "Kuih Kosui" ชื่อเดียวแบบเดียว กันเปี๊ยบกับที่นี่ ขนมโกซุ้ยที่วางขายในตลาดเช้าตะกั่วป่า เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ และขนมถ้วยตะไลในภาคกลาง แต่เนื้อจะนุ่มเหนียวและมีความหยุ่นกว่าขนมทั้งสองชนิด จะมี 2 รส คือ รสใบเตย กับรสน้ำตาลทรายแดง นิยมทานคู่กับมะพร้าวสดขูดใหม่ๆที่คลุกเกลือเล็กน้อย พอออกรสเค็มๆมันๆ ตัดกับรสหวานและกลิ่นหอมธรรมชาติของเนื้อขนม
ขนม"  โกซุีย"  ขนาดถ้วยตะไล
There's another weird sweets called "Kosui", which is commonly found in the morning market and local Kopitiam in town. When I was younger, I thought perhaps the senior guy named "Sui" was the person who originally made this dessert. Later I had to change what I had doubted...as the word "Kosui" is derived from Nyonya's "Kuih Kosui", a saucer shaped steamed rice cake, flavored with pandan juice. In Takuapa, there're 2 flavors: 1. Brown sugar (with natural brown colour as well as its rich brown sugar aroma);
2. Pandan (with rich & natural pandan juice aroma). A good Kosui should be springy and soft whilst being chewed in your mouth, to be ideally eaten with freshly grated coconut (mixed with a bit of salt).

จากขนม "โกซุ้ย" ก็มีขนม "โกโกย" ซึ่งเป็นขนมของชาวจีนเปอรานากัน เวลาทานจะหอมกลิ่นแป้งหมักกับยีสต์ มีสองสีคือ สีขาว ได้จากน้ำตาลทรายขาว และสีน้ำตาลที่มาจากส่วนผสมของน้ำตาลทรายแดงธรรมชาติ หอมคล้ายขนมมาไลโก๊ว แต่เนื้อขนมจะเหนียวนุ่มและหยุ่นกว่าขนมมาไลโก๊ว ทานคู่กับมะพร้าวขูดใหม่ๆที่คลุกเกลือป่นเล็กน้อยเหมือนเวลาทานขนมโกซุ้ย จะได้รสชาติกว่าทานเปล่าๆ ชื่อภาษาจีนคือ "Pak Thong Koh" (Steamed white/brown sugar honeycomb rice cake or literally called white/brown sugar sponge )
ขนม "โกโกย"   (Pak Thong Koh)
อ่านออกเสียงคล้ายกับ ปาท่องโก๋ เมืองไทย แต่ ปาท่องโก๋ ของแถบปีนังมีชื่อว่า "Kuih Cakoi" อ่านว่า "จาโก้ย"เหมือนที่คนปักษ์ใต้บ้านเราเรียกกันมาตั้งนาน:-)แต่จาโก้ยปีนัง ตัวจะยาวและลีบกว่าจาโก้ยที่นี่ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร? คราวหน้าเวลาไปเที่ยวปีนังจะแอบถามคนขายจาโก้ยแถวนั้นดูดีกว่า จะได้หายสงสัยเสียที:-)
จาโก้ย จิ้มสังขยา
(Cakoi with Pandan flavored kaya dip)
Now that I realize many weird names of local sweets e.g. Kosui, Cakoi, Tau Sar Piah, Bee Koh Moy and so forth, are derived from Nyonya-Peranakan... The more I dig deep into those familiar yet strange vocabularies, the more I fall in love with my root discovery which has taken me with such a profound way back to my ancestors as well as to my hometown's glorious past...as if I were a time traveler with the famous Doraemon's Time-Machine:-)

However, with the fact that I'm neither a chef nor professional writer, I'm just an ordinary story-teller with passion & love to share as well as to pass on what I have learnt and experienced, either inherited from my grandparents or other useful sources, to our generation Y - Z, their children and grandchildren... so that they are able to know, to maintain, to appreciate and to be proud of their roots just as I always do. :-)

...พอเริ่มค้นหา ลงลึกถึงที่มาที่ไปของขนมพื้นเมืองชื่อแปลกๆ ที่รู้จักคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก ก็ยิ่งหลงรักในวัฒนธรรมจีนเปอรานากัน และประเพณีไทยท้องถิ่นอันดีงาม ถ้าไม่จดบันทึก หรืออนุรักษ์ไว้ ต่อไปภายหน้าคนรุ่นหลังจะไม่รู้จัก ไม่ซาบซึ้ง และซึมซับรากเหง้าความเป็นมาของบ้านเกิดและบรรพบุรุษของตัวเอง... เป็นที่สังเกตได้ว่า ขนมต่างๆ แถบแหลมมลายู รวมถึงมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)และกวางตุ้ง ทางใต้ของประเทศจีน ส่วนผสมของขนมจะมี แป้งข้าวเจ้าและ แป้งข้าวเหนียว เป็นหลัก และใช้วิธีการทำให้สุก ด้วยการนึ่งเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผสมอื่นๆ คือ แป้งมันสำปะหลัง มะพร้าว น้ำตาลทรายขาว/แดง หน้าตาและรสชาติขนมเหมือนกัน หากแต่ชื่อเรียกอาจผิดเพี้ยนไปบ้างในแต่ละท้องถิ่น...

2 comments:

Total Pageviews

Pleasure to have you Here!

Powered by Blogger.

© AnnaVanilla, AllRightsReserved.

Designed by ScreenWritersArena