According to an Indian chronicle, in 43 B.C. Takua Pa was a major trade seaport on the west coast of the south of Thailand. It was situated in the Arabian maritime route, with a Takua Pa River, being a transportation channel to the east coast near what is now, Chaiya district, Surat Thani province. Takua Pa was then abundant in spices, and was, therefore, called by the Indians as "Takkola", which refers to cardamom.
รถสองแถวตะกั่วป่า Takua Pa's local transport "Two Rows" or "Song Thew" |
The name was later corrupted to be "Takola". As the area also had tin ore in abundance and the town became an exporter of tin, the name "Takola" has been changed to "Takua Pa" as it is currently known.
A number of discoveries reflect the town's glorious past including statues of God Vishnu and a large number of beads found at "Baan Thung Tuek", Koh Kho Khao, which was a stop for Arabian traders in ancient times.
ตะกั่วป่าในเชิงตำนาน เป็นเมืองท่าสำคัญเมืองหนึ่งทางฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ ในราว พ.ศ. ๒๐๐- ๓๐๐ พระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิแห่งประเทศอินเดีย ยกกองทัพมาปราบปรามพวกกลิงคราษฐในอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ จนพวกกลิงคราษฐส่วนหนึ่งอพยพจากถิ่นเดิมเลียบฝั่งทะเลตะวันตก มาจนถึงเมืองตะกั่วป่าและเมืองใกล้เคียง เช่น ตะกั่วทุ่งและถลาง เป็นต้น ปรากฏตามหลักฐานหนังสือมิลินทร์ปัญหา ซึ่งรจนาขึ้นราว พ.ศ. ๕๐๐ ว่า ชาวอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า ตักโกละ หรือ ตกกล คำ ตักกล ภาษาสิงหล แปลว่า กระวาน เนื่องจากบริเวณนี้อุดมไปด้วยเครื่องเทศ http://books.google.co.th/books?id=a5rG6reWhloC&pg=PA194&lpg=PA194&dq=ancient+greek+geography+ptolemy+Takola&source=bl&ots=_CAfZo-7I_&sig=Cqrqa9-Ovt8Lmg023N8bULgmRsU&hl=en&sa=X&ei=PXbiUa84wYWtB961gKgP&redir_esc=y#v=onepage&q=ancient%20greek%20geography%20ptolemy%20Takola&f=false [...] Thus the Takola of Ptolemy's Geography, which was spelled Takkola in india,[...] มีหลักฐานปรากฎตามแผนที่ประวัติศาสตร์ของแฮมมอนด์ (Hammond Historical Atlas) http://www.siameseheritage.org/jsspdf/1904/JSS_002_2b_Gerini_HistoricalRetrospectOfJunkCeylonIslandPartI.pdf และมีโบราณสถาน และโบราณวัตถุประเภทลูกปัด เครื่องภาชนะดินเผา เครื่องแก้ว เป็นหลักฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ณ บริเวณ ทุ่งตึก ที่เกาะคอเขา ต่อมาคำ ตกโกล จึงกลายเป็นเมือง “ตะโกลา” และเนื่องจากบริเวณนี้มีสินแร่อยู่ทั่วไป ตั้งแต่สมัยโบราณมีโรงถลุงแร่เคี่ยวเอาน้ำตะกั่ว ส่งไปขายต่างประเทศ จึงเรียกเมืองตะโลา เป็น “ตะกั่วป่า” ในหนังสือภูมิศาสตร์ปโตเลมี เมื่อราวพ.ศ.๘๐๐ http://en.wikipedia.org/wiki/Tambralinga [...] Although geographic location of Holing has been never mentioned in the reports of the pilgrims who had visited the kingdom, there are several reasons that suggest a location on Thai southern coast, which is precisely where the Greek astronomer Claudius Ptolemy said that the main port city of Takola Emporium was located during the first century[...] พรรณนาชื่อเมืองแหลมมลายูนี้ว่ามีเมืองหนึ่งชื่อ “ตะโกลา” (Takola) เป็นที่ค้าขาย (Mart) พระสารสาส์นฯ ตีความว่าน่าจะเป็นเมืองตะกั่วป่า ดังนี้
ก. ที่เมืองตะกั่วป่า มีโบราณสถานโบราณวัตถุอยู่เป็นสำคัญว่าเคยเป็นสถานของชาวอินเดียแห่งหนึ่ง
ข. พิเคราะห์ในแผนที่ ส่อให้เห็นว่าเมืองตะกั่วป่า คงเป็นสถานที่เรือแล่นข้ามไปอ่าวเบงกอล ไปมาในระหว่างเมืองอินเดียฝ่ายใต้กับแหลมมลายู
ค. เจ้ากรมราชกิจได้เคยไปสำรวจแร่ที่เกาะคอเขา ในปากน้ำตะกั่วป่า ขุดพบทองคำ ทรายจมกระจายอยู่ใต้ดินมากมาย สันนิษฐานว่า ที่ตรงนั้นเดิมคงเป็นสถานที่ตั้งค้าขายมาแต่ดึกดำบรรพ์
นายธรรม พานิช มีความเห็นว่า “ตะกั่วป่า” กับ “ตักโกลา” เป็นชื่อเดียวกัน โดย Takola เป็นภาษากรีก ส่วนตะกั่วป่า เป็นภาษาไทย หมายถึงดีบุก ชาวกรีกเขียนไว้ว่า “คาบสมุทรแหลมทองเริ่มต้นที่ตักโกลา”...
เมืองตะกั่วป่า เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยโบราณนั้นกล่าวถึงชุมชนนี้้ในชื่อ “ตะโกลา” แสดงว่า ชุมชนแห่งนี้มีผู้คนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นมาแล้วในอดีต และมีความรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาแห่งหนึ่งในคาบสมุทรไทย (จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึงจังหวัดนราธิวาส) มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีได้พบหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องราวของคนสมัยนั้นหลายอย่าง เช่น การพบเครื่องมือหินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวานหินขัดมีรูปหน้าตัดคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นเครื่องมือสำหรับ ตัดและสับ และภาชนะเครื่องปั้นดินเผารูปทรงต่างๆ เช่น หม้อ ถ้วย จาน ชาม ไห ทั้งชนิดเรียบๆ และมีลวดลายประดับตกแต่ง ร่องรอยที่ยังคงสืบมาจนปัจจุบันเช่น แหล่งโบราณคดีเหมืองทองบ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี และเมือง “ตะโกลา” ซึ่งเชื่อกันว่าเคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยศรีวิชัย มีฐานะเป็นศูนย์อำนาจปกครองท้องถิ่นบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้อยู่เป็นเวลานานหลายศตวรรษ...(อ่านต่อได้ใน post: Takuapa & Tin Capital)สร้อยคอร้อยด้วยลูกปัดโบราณแบบต่างๆที่พบในอำเภอตะกั่วป่าและพื้นที่ใกล้เคียง
My precious ancient beads & handmade necklaces.
จานกระเบื้องแบบเคลือบขาวรุ่นแรกๆ (Early Porcelain) สมัยราชวงศ์ถังห้าราชวงศ์ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีเหมืองทอง จังหวัดพังงา
เครื่องถ้วยจีนเนื้อขาวแกร่งเคลือบสีมะกอกมีลายประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ จากเตาฉางชา (Changsha kiln) มณฑลเหอหนาน (Hunun) ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ เป็นเครื่องถ้วยที่นิยมส่งออกไปขายที่เปอร์เซีย โรม อียิปต์ (จากแหล่งโบราณคดีเหมืองทอง จังหวัดพังงา)
**********
0 comments:
Post a Comment