Je Mange. Donc, Je Suis.

Wednesday, 29 February 2012

Happy Leap Day!


Send a Dozen Roses at WiddlyTinks.com
“Today is an ephemeral ghost... A strange amazing day that comes only once every four years. For the rest of the time it does not "exist." In mundane terms, it marks a "leap" in time, when the calendar is adjusted to make up for extra seconds accumulated over the preceding three years due to the rotation of the earth. A day of temporal tune up! But this day holds another secret—it contains one of those truly rare moments of delightful transience and light uncertainty that only exist on the razor edge of things, along a buzzing plane of quantum probability... A day of unlocked potential. Will you or won't you? Should you or shouldn't you? Use this day to do something daring, extraordinary and unlike yourself. Take a chance and shape a different pattern in your personal cloud of probability!” (credit: EverydayLoL)

Romantic Snow Globes by WiddlyTinks.com
Read More

Monday, 27 February 2012

Takuapa Kopi Tiam & Co.

สมัยเป็นเด็ก อาหารเช้าที่โปรดปรานมากที่สุด นอกจากเป็นอาหารคาวจำพวก ข้าวต้มหมูสับเหยาะแม็กกี้ ขนมจีบ ไส้กรอก ไข่ดาว ข้าวผัด แล้ว... ยังมีขนมพื้นเมืองชื่อแปลกๆ หลายชนิด ที่ได้ทานอยู่บ่อยๆ ทานคู่กับโอวัลตินชงใหม่ๆ หอมๆ... ส่วนพวกผู้ใหญ่ก็ทานขนมพวกนี้ กับกาแฟร้อนที่เรียกว่า "โกปี๊อ๊อ" หรือ ชาร้อนที่เรียกว่า "เซล้อง" จึงพอจะเดาได้ว่า คำว่า "โกปี๊-kopi" ได้รับอิทธิพลมาจากภาษามาเลย์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษาโปรตุกีสมาอีกทอดหนึ่งในยุคอาณานิคม คำว่า "เซล๊อง-Ceylon" น่าจะมาจากชาดำจากซีลอนประเทศศรีลังกาในสมัยอาณานิคมเช่นกัน ซึ่งชาวโปรตุเกสเรียกเมืองนี้ว่า "Ceilão" ก่อนชาวอังกฤษจะเข้ามายึดครองและเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น "ซีลอน-Ceylon"ส่วน "อ๊อ-0/oh" หมายถึง ดำ หรือเป็นที่เข้าใจได้ว่า "ไม่ใส่นม"...
Coffee with condensed milk

My nostalgic breakfast...
as I could recall back then, was not only a set of rice porridge with pork-chop Chinese style, seasoned with Maggi, Dim sum, fried sausages, fried egg and fried rice, but also various kinds of local sweets with weird names, served with a mug of hot malted chocolate drink "Ovaltine". For grown-ups, especially men at work, they would prefer to be mingled at their favorite Kopi tiam (or coffee shop) with some typical offerings: various menus based on egg, toast, kaya (coconut jam) and local sweets, served with coffee, tea, malted chocolate drink or soy milk and 4 Cs : Complimentary Chirpy Chit-Chat:-))
Note: Coffee Shop Chit-Chat is a phrase used to describe gossip because it is often a familiar sight at kopitiams where a group of workers or senior citizens would linger over cups of coffee and exchange news and comments on various topics including food & drinks, national & local politics, "Do you know who's going out with whom" stuff, TV melodramas, cars, sports and weather...

The one and only Apong stall in Takuapa, 
(recipe inherited from grandma)
in front of 7/11 store, Petchakasem Road 
ขนมที่ตอนเด็กๆได้ทานอยู่บ่อยๆ แล้วนึกขำกับชื่อของขนมที่มีชื่อว่า "อาโป๊ง" เคยถามผู้ใหญ่หลายๆคน แต่ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าที่มาที่ไปของชื่อขนมนี้มาจากไหน จนกระทั่งปีที่แล้วจึงถึงบางอ้อ ว่าแท้จริงแล้วชื่อนี้ก็ได้จากขนมเบื้องโบราณอินเดียชื่อ "อาปอม"ที่แพร่เข้ามาในแหลมมลายู โดยที่ปีนังจะเรียกขนมนี้ว่า "อาโป๊ง บาลิก" หรือ "อาปอม บาลิก" ต่างจาก อาปอมของอินเดียคือ อาปอม บาลิก ขอบขนมจะไม่กรอบ รสชาติคล้ายแพนเค้กและนิยมใส่ไส้กล้วยหรือมะพร้าว แต่ อาโป๊งแบบเปอรานากันที่ตะกั่วป่าขอบขนมจะกรอบบางแต่ข้างในจะหนานุ่ม เวลาเคี้ยวจะได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บในปากพอเพลิดเพลิน และเศษขนมจะร่วงเป็นเศษเล็กเศษน้อย ต้องเอามือป้อง หรือใช้จานรองขณะทาน:-)และคงไม่แปลกที่ เด็กเอิด*อย่างเราจะเลือกแทะเฉพาะขอบที่กรอบแล้วเหลือตรงกลางไว้ (ให้ใครกินจ๊ะ?) เหมือนเวลากินซาละเปาจะเจาะกินแต่แป้งที่ติดซอสของไส้หมูสับข้างใน ส่วนไส้หมูสับกับแป้งขอบนอก (เก็บไว้ให้ใครกินจ๊ะ?).นิสัย !!!:-)
ปล * เป็นภาษาถิ่นทางปักษ์ใต้ หมายถึง เด็กจอมแก่นและซ่า
--------------------------------
The making of Chinese Apong in a small wok.
Ingredients of the Apong: coconut milk, rice flour, eggs, sugar and salt.
"Apong"
One of my nostalgic sweet treats is Chinese "Apong" (or Chinese crispy pancake), similar family as the "Apom" (Indian pancake) with its flakiness characteristic: thin as aerogramme and crispy on the side while the middle is soft and thick as honeycomb-like steamed rice cake. Here in Takuapa, unlike the popular "Apong Balik" in Penang, the Apong is plain without banana or other forms of fillings. I just love the sound of crispy-flaky bits in my mouth whilst gobbling up 2 or more:-) la gourmande!!!

ถัดจากขนม "อาโป๊ง" ก็มีขนมชื่อแปลกที่ชาวตะกั่วป่านิยมทานเป็นอาหารเช้าตามร้านกาแฟทั่วไป หรือในตลาดเช้า ชื่อขนม "โกซุ้ย"
Brown sugar flavored "Kosui"
Pandan flavored (steamed) Rice Cake
ชื่อขนม "โกซุ้ย" ตอนเด็กๆ คิดว่าอาโก ชื่อ "ซุ้ย" เป็นคนทำ ภายหลังจึงทราบว่ามีที่มา จากวัฒนธรรมเปอรานากัน เพราะที่หลังครัวหรือในตลาดเช้าปีนัง พบขนมที่มีชื่อว่า "Kuih Kosui" ชื่อเดียวแบบเดียว กันเปี๊ยบกับที่นี่ ขนมโกซุ้ยที่วางขายในตลาดเช้าตะกั่วป่า เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ และขนมถ้วยตะไลในภาคกลาง แต่เนื้อจะนุ่มเหนียวและมีความหยุ่นกว่าขนมทั้งสองชนิด จะมี 2 รส คือ รสใบเตย กับรสน้ำตาลทรายแดง นิยมทานคู่กับมะพร้าวสดขูดใหม่ๆที่คลุกเกลือเล็กน้อย พอออกรสเค็มๆมันๆ ตัดกับรสหวานและกลิ่นหอมธรรมชาติของเนื้อขนม
ขนม"  โกซุีย"  ขนาดถ้วยตะไล
There's another weird sweets called "Kosui", which is commonly found in the morning market and local Kopitiam in town. When I was younger, I thought perhaps the senior guy named "Sui" was the person who originally made this dessert. Later I had to change what I had doubted...as the word "Kosui" is derived from Nyonya's "Kuih Kosui", a saucer shaped steamed rice cake, flavored with pandan juice. In Takuapa, there're 2 flavors: 1. Brown sugar (with natural brown colour as well as its rich brown sugar aroma);
2. Pandan (with rich & natural pandan juice aroma). A good Kosui should be springy and soft whilst being chewed in your mouth, to be ideally eaten with freshly grated coconut (mixed with a bit of salt).

จากขนม "โกซุ้ย" ก็มีขนม "โกโกย" ซึ่งเป็นขนมของชาวจีนเปอรานากัน เวลาทานจะหอมกลิ่นแป้งหมักกับยีสต์ มีสองสีคือ สีขาว ได้จากน้ำตาลทรายขาว และสีน้ำตาลที่มาจากส่วนผสมของน้ำตาลทรายแดงธรรมชาติ หอมคล้ายขนมมาไลโก๊ว แต่เนื้อขนมจะเหนียวนุ่มและหยุ่นกว่าขนมมาไลโก๊ว ทานคู่กับมะพร้าวขูดใหม่ๆที่คลุกเกลือป่นเล็กน้อยเหมือนเวลาทานขนมโกซุ้ย จะได้รสชาติกว่าทานเปล่าๆ ชื่อภาษาจีนคือ "Pak Thong Koh" (Steamed white/brown sugar honeycomb rice cake or literally called white/brown sugar sponge )
ขนม "โกโกย"   (Pak Thong Koh)
อ่านออกเสียงคล้ายกับ ปาท่องโก๋ เมืองไทย แต่ ปาท่องโก๋ ของแถบปีนังมีชื่อว่า "Kuih Cakoi" อ่านว่า "จาโก้ย"เหมือนที่คนปักษ์ใต้บ้านเราเรียกกันมาตั้งนาน:-)แต่จาโก้ยปีนัง ตัวจะยาวและลีบกว่าจาโก้ยที่นี่ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร? คราวหน้าเวลาไปเที่ยวปีนังจะแอบถามคนขายจาโก้ยแถวนั้นดูดีกว่า จะได้หายสงสัยเสียที:-)
จาโก้ย จิ้มสังขยา
(Cakoi with Pandan flavored kaya dip)
Now that I realize many weird names of local sweets e.g. Kosui, Cakoi, Tau Sar Piah, Bee Koh Moy and so forth, are derived from Nyonya-Peranakan... The more I dig deep into those familiar yet strange vocabularies, the more I fall in love with my root discovery which has taken me with such a profound way back to my ancestors as well as to my hometown's glorious past...as if I were a time traveler with the famous Doraemon's Time-Machine:-)

However, with the fact that I'm neither a chef nor professional writer, I'm just an ordinary story-teller with passion & love to share as well as to pass on what I have learnt and experienced, either inherited from my grandparents or other useful sources, to our generation Y - Z, their children and grandchildren... so that they are able to know, to maintain, to appreciate and to be proud of their roots just as I always do. :-)

...พอเริ่มค้นหา ลงลึกถึงที่มาที่ไปของขนมพื้นเมืองชื่อแปลกๆ ที่รู้จักคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก ก็ยิ่งหลงรักในวัฒนธรรมจีนเปอรานากัน และประเพณีไทยท้องถิ่นอันดีงาม ถ้าไม่จดบันทึก หรืออนุรักษ์ไว้ ต่อไปภายหน้าคนรุ่นหลังจะไม่รู้จัก ไม่ซาบซึ้ง และซึมซับรากเหง้าความเป็นมาของบ้านเกิดและบรรพบุรุษของตัวเอง... เป็นที่สังเกตได้ว่า ขนมต่างๆ แถบแหลมมลายู รวมถึงมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)และกวางตุ้ง ทางใต้ของประเทศจีน ส่วนผสมของขนมจะมี แป้งข้าวเจ้าและ แป้งข้าวเหนียว เป็นหลัก และใช้วิธีการทำให้สุก ด้วยการนึ่งเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผสมอื่นๆ คือ แป้งมันสำปะหลัง มะพร้าว น้ำตาลทรายขาว/แดง หน้าตาและรสชาติขนมเหมือนกัน หากแต่ชื่อเรียกอาจผิดเพี้ยนไปบ้างในแต่ละท้องถิ่น...
Read More

Sunday, 26 February 2012

Takuapa & Nyonya-Peranakan Influence

My beloved grandmother
in her casually traditional costume
(this photo, taken during tin mining era)
***************
When I was a little girl, I was always astonished and confused with some local vocabularies, widely used for kitchen utensils, food and sweets as my grandmother always asked me for a lift when she was preparing food for the family. I once asked my grandmother why those things are called in such weird language, which is apparently neither Thai language nor local dialect. My grandmother then replied that those words have been used since she was a little girl too. She added that here in Takua Pa, Phuket and throughout Southern region, since WW II, Baba-Nyonya-Peranakan culture from Penang and Melaka (Malay Peninsula), has significantly played a great part in our daily activities.

So who are Baba/Nyonya and Peranakan people? Peranakan Chinese and Baba-Nyonya are terms used for the descendants of late 15th and 16th-century Chinese immigrants from Fujian to the Indonesian archipelago of Nusantara during the Colonial era. Members of this community in Melaka address themselves as "Nyonya-Baba" instead of "Baba-Nyonya". Nyonya is the term for the ladies and Baba for the gentlemen. While the term Peranakan is most commonly used among the ethnic Chinese for those of Chinese descendant, also known as Straits Chinese...

บ้าบ๋า ย่าหยา เป็นใคร? ชาวเปอรานากันคือกลุ่มคนพวกไหน?
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 กลุ่มพ่อค้าชาวจีนจากมณฑลฝูเจี้ยน (หรือ“ฮกเกี้ยน”ในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว ได้เดินทางเข้ามาค้าขายบริเวณคาบสมุทรมลายูและตัดสินใจตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ มะละกา ปีนัง และสิงคโปร์ เนื่องจากถิ่นฐานเดิมของชาวจีนกลุ่มนี้ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ที่ติดกับทะเลเช่นเดียวกัน รวมทั้งมีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวจีนที่ไปทำงานสร้างทางรถไฟหรือขุดทองทำให้เกิดสายเลือดหรือกลุ่มชาวจีนกลุ่มใหม่ที่มีเชื้อสายของผู้ชายชาวจีนกับผู้หญิงชาวมลายูซึ่งหากเป็นผู้ชายจะถูกเรียกว่า “บ้าบ๋า” (Baba) ส่วนผู้หญิงจะถูกเรียกว่า “ย่าหยา” (Nyonya)
Nyonya-Peranakan costumes Parade for cultural campaign
@Takua Pa Old Town

"ย้อนรอยอดีตถนนสายวัฒนธรรม ตะกั่วป่า"
(photo credit: www.kuapa.com)
Why shouldn't I wear Nyonya costume 
and strike a pose? hmmm:-)
Baba is Persian loan-word borrowed by Malaysian as an honorific solely for grandparents; it was used to refer to the Straits-Chinese males. The term originated with Hindustani speakers, such as vendors and traders, and became part of common vernacular. Female Straits-Chinese descendants were either called or styled themselves Nyonyas. The word nyonya (also commonly misspelled nonya) is a Javanese loan honorific word from Italian Nona (grandma) meaning: foreign married Madam. Or more likely from the word Donha, from the Portuguese word for lady. Because Javanese at the time had a tendency to address all foreign women (and perhaps those who appeared foreign) as nyonya, they used that term for Straits-Chinese women, too, and it was gradually associated more exclusively with them. Nona in Javanese means lady. (source Wikipedia)
คำว่า “บ้าบ๋า ย่าหยา” เพี้ยนมาจากคำว่า “บาบา นอนยา” (Baba-Nyonya) ในภาษามลายูและชวา “บาบา เหนียงเร่อ” (Baba Niangre) ในภาษาจีน “บาบา” เป็นคำภาษามลายูที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย และเป็นคำให้เกียรติแก่ปู่ย่าตายาย ใช้เรียกชาวเปอรานากันที่เป็นผู้ชาย ส่วน “นอนยา” เป็นคำภาษาชวาที่ยืมมาจากคำภาษาอิตาเลียนคำว่า "Nona"หมายถึงผู้หญิงต่างชาติที่แต่งงานแล้ว และจากคำว่า “donha” ในภาษาโปรตุกีส หมายถึงผู้หญิง และเนื่องจากภาษาชวามีแนวโน้มในการเรียกผู้หญิงทุกคนที่ดูแล้วเหมือนเป็นชาวต่างชาติรวมถึงใช้ผู้หญิงเชื้อสายจีนด้วยว่า "Nyonya" ภายหลังได้ใช้เรียกชาวเปอรานากันที่เป็นผู้หญิง ทั้งสองคำจึงหมายถึงกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นโดยนำส่วนดีระหว่างชาวจีนกับชาวมลายูมารวมกัน ส่วนคำว่า “เปอรานากัน” มีความหมายว่า “เกิดที่นี่”...
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยาม คำว่า “บ้าบ๋า” และ “ย่าหยา” ว่า “เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า “บ้าบ๋า” คู่กับ “ย่าหยา” ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย”
If you read the aformentioned statement and still read this one, You're great! as I'm telling you the truth that I have got a terrible headache now after reading all the facts about Baba, Nyonya and Peranakan.....and still don't know how to define myself @.@
However, please stay tuned w/ more mouthwatering pictures :-)



My Family from WiddlyTinks.com
Read More

Friday, 24 February 2012

Takuapa & Tin Capital

...ความเดิม...
จาก "ตะโกลา" สู่ "ตะกั่วป่า"
(นครแห่งดีบุกและวุลแฟรม)  
เมืองตะกั่วป่า เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยโบราณนั้นกล่าวถึงชุมชนนี้้ในชื่อ “ตะโกลา” แสดงว่า ชุมชนแห่งนี้มีผู้คนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นมาแล้วในอดีต และมีความรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาแห่งหนึ่งในคาบสมุทรไทย (จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึงจังหวัดนราธิวาส) มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีได้พบหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องราวของคนสมัยนั้นหลายอย่าง เช่น การพบเครื่องมือหินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวานหินขัดมีรูปหน้าตัดคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นเครื่องมือสำหรับ ตัดและสับ  และภาชนะเครื่องปั้นดินเผารูปทรงต่างๆ เช่น หม้อ ถ้วย จาน ชาม ไห ทั้งชนิดเรียบๆ และมีลวดลายประดับตกแต่ง ร่องรอยที่ยังคงสืบมาจนปัจจุบันเช่น แหล่งโบราณคดีเหมืองทองบ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี และเมือง “ตะโกลา” ซึ่งเชื่อกันว่าเคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยศรีวิชัย มีฐานะเป็นศูนย์อำนาจปกครองท้องถิ่นบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้อยู่เป็นเวลานานหลายศตวรรษ และคงถูกโจมตีอย่างหนักจากพวกโจฬะ ตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนบ้านเมืองเสียหายยับเยินกลายเป็นเมืองร้างไป เพราะผู้คนได้อพยพไปสร้างเมืองใหม่ลึกเข้าไปซึ่งเป็นที่ปลอดภัยกว่า ชื่อเมือง ตะโกลา จึงหายไปจากสำนึกของคนทั่วไป
ในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช ได้เกิดชุมชนขุดแร่ขึ้นใหม่ในบริเวณเมืองตะกั่วป่า และบริเวณใกล้เคียง ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชเรียกชุมชนเหล่านี้รวมกันไปว่า “เมืองตะกั่วถลาง” ซึ่งชาวพื้นเมืองในสมัยนั้นรู้จักแร่ดีบุกในชื่อของแร่ “ตะกั่วดำ” เมืองตะกั่วถลาง คงจะหมายถึงชุมชนขุดแร่ดีบุกขนาดใหญ่หลายแห่งทางชายฝั่งตะวันตกในยุคนั้น ซึ่งอาจจะหมายถึง เมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งเป็นหัวเมืองขึ้นกรมสมุพระกลาโหม ในสมัยอยุธยาตอนกลาง หลังจากชาวยุโรปเข้าไปติดต่อรับซื้อแร่ดีบุกในบริเวณดังกล่าวมากขึ้น เมืองถลางบนเกาะภูเก็ตเริ่มขยายตัวเป็นชุมชนที่สำคัญขึ้นมา เพราะในปี พ.. ๒๑๖๙  พวกดัทช์ ได้เข้าไปตั้งสถานีการค้าและทำสัญญาผูกขาดการค้าดีบุกที่นั่น จึงมีการรวมศูนย์อำนาจปกครองท้องถิ่นขึ้นที่เมืองถลาง เมืองตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่ง จึงกลายเป็นเมืองบริวารของเมืองถลาง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ก็ยังคงสภาพเช่นนั้นมาตลอด ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ในขณะที่หัวเมืองชายฝั่งตะวันตกกำลังมั่งคั่งจากการผลิตและค้าแร่ดีบุก หัวเมืองเหล่านี้ จะได้รับความสนใจจากทางฝ่ายไทย พม่า และบริษัทอังกฤษในอินเดีย ทางฝ่ายไทยได้อาศัยรายได้จากอากรดีบุกเพื่อฟื้นฟูอำนาจขึ้นมาใหม่ ถึงกับส่งขุนนางผู้ใหญ่ไปอยู่ประจำเพื่อรวบรวมพระราชทรัพย์ของหลวงในขณะที่พ่อค้าอังกฤษเข้ามาติดต่อซื้อขายดีบุกที่เกาะภูเก็ตมากขึ้น ทางฝ่ายพม่าก็ได้ส่งกองทัพมาปล้นสะดมหัวเมืองเหล่านี้บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะในปี พ.. ๒๓๒๘ และในปี พ.. ๒๓๕๒ การปล้นสะดมของพม่าทั้งสองครั้งได้ทำลายเมืองตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่งเสียหายยับเยินทุกครั้ง แต่หลังจากพม่าถอนตัวกลับไปแล้ว ชาวเมืองก็กลับมาหาแร่ดีบุกอย่างเดิม สภาพเช่นนี้ทำให้เมืองตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่งไม่อาจจะพัฒนาจนเป็นชุมชนที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงได้ โดยเฉพาะในระยะก่อนปี พ.. ๒๓๖๗ ซึ่งเป็นปีที่พม่าเริ่มทำสงคราม แพ้อังกฤษ และต้องยกมณฑลตะนาวศรีให้แก่อังกฤษ

เมืองตะกั่วป่าในระยะระหว่างปี พ.. ๒๔๐๔ ๒๔๓๓ ได้รับการเชิดชูให้สูงขึ้นมากกว่าหรือเท่าเทียมกับเมืองพังงาและถลางในอดีตอย่างแท้จริง เจ้าเมืองมีอำนาจมากเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองและมีหน้าที่ดูแลเมืองอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะเมืองตะกั่วทุ่ง ภูเก็ต และถลาง ในระยะแรกๆ แต่อย่างไรก็ตาม หัวเมืองชายฝั่งตะวันตกในระยะดังกล่าว ต่างก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการสินแร่ดีบุกในตลาดโลก เพื่อนำไปทำแผ่นเหล็กอาบดีบุก ในขณะเดียวกันเจ้าเมืองตะกั่วป่าและเมืองอื่นๆ มั่งคั่งขึ้นจากการผูกขาดทำภาษีแบบ “เหมาเมือง” ดังจะเห็นได้จากจำนวนภาษีที่รับผูกขาดไปจากสมุหพระกลาโหม ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากปีละ ๒๖,๙๖๐ บาท ก่อนปี พ.. ๒๔๑๕ เป็นปีละ ๒๙,๐๔๐ บาท ในปี พ.. ๒๔๑๕ และ ปีละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ในปี พ.. ๒๔๑๘ หรือเพิ่มขึ้นกว่า ๔ เท่าตัวในระยะเวลาเพียง ๓-๔ ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความมั่งคั่งของเมืองตะกั่วป่าและเจ้าเมืองตะกั่วป่าเกิดขึ้นในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญทั้งในเมืองตะกั่วป่าเองและในส่วนกลาง

ในเมืองตะกั่วป่า ชาวจีนได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่จำนวนมากและแตกออกเป็นพวกๆ เป็นพวกยี่ปุนเถ้าก๋ง และโฮ่เซ่ง เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์จาการทำเหมืองแร่ และกลายเป็นกลุ่มอิทธิพลที่เจ้าเมืองและกรมการเมืองอื่นๆ ต้องยอมรับโดยแต่งตั้งหัวหน้าชาวจีนขึ้นเป็นกรมการเมืองตำแหน่งหลวงบำรุงจีนประชา และขุนรักษาจีนประเทศ นายอำเภอจีนที่ ๑ และที่ ๒ แต่ก็ไม่สามารถระงับปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ของชาวจีนได้ ชาวจีนจึงก่อความวุ่นวายขึ้นบ่อยๆ แต่โชคดีที่เมืองตะกั่วป่ามีคนจีนอาศัยอยู่น้อยกว่าที่ภูเก็ตและระนอง การจลาจลจึงเกิดขึ้นในเมืองเหล่านี้ก่อนแล้วจึงลุกลามมาถึงเมืองตะกั่วป่าซึ่งไม่รุนแรงมากนัก เจ้าเมืแงและกรมการเมืองสามารถรักษาสถานการณ์ไว้ได้ทุกครั้งไม่ว่าในปี พ.ศ ๒๔๑๐ หรือ ปี พ.. ๒๔๑๙ พระยาเสนานุชิต (นุช) เจ้าเมืองตะกั่วป่าขณะนั้นก็ไม่ประมาท ได้สร้างกำแพงค่ายล้อมจวนของตนไว้อย่างแข็งแรงสำหรับป้องกันพวกอั้งยี่ และรับผู้คนที่แตกตื่นหนีภัยเข้าไปอาศัยอยู่ในค่ายด้วย รวมพวกอั้งยี่ที่บาดเจ็บและแตกหนีศัตรูมา ซึ่งผลจากการก่อความวุ่นวายของชาวจีนครั้งนั้น ทำให้การผลิตแร่ดีบุกต้องชะงักลง มีผลเสียต่อภาวะเศรษฐกิจของหัวเมืองเหล่านี้อย่างมาก เพราะคนจีนอพยพกลับเสียมาก บ้านเมืองจึงร่วงโรยลง และยังถูกซ้ำเติมจากราคาดีบุกในตลาดโลกซึ่งตกต่ำอีกด้วย และหลังจากมีการขึ้นภาษีเป็นปีละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ในระหว่างปี พ.. ๒๔๑๘ -๒๔๒๑ การทำภาษีแบบเหมาเมืองในเมืองตะกั่วป่าก็เริ่มขาดทุน ในระหว่างปี พ.. ๒๔๒๒ -๒๔๒๕ พระยาเสนานุชิต (เอี่ยม) เจ้าเมืองตะกั่วป่าขณะนั้น จึงขอลดภาษีลง เป็นปีละ ๗๒,๐๐๐ บาท แต่บังเอิญในปี พ.. ๒๔๒๔ ชาวจีนในเมืองตะกั่วป่าได้ก่อการจลาจลอีก จึงทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมลงอย่างหนัก ภาษีที่เก็บได้จึงลดลงไปอีก ไม่สามารถเก็บได้ตามที่ประมูลมา จึงทำให้ค้างภาษีรัฐบาลกลางระหว่างปี พ.. ๒๔๒๘ ๒๔๓๔ เป็นจำนวนเงินถึง ๒๘๕,๓๑๕ บาท ถูกเรียกตัวไปเร่งภาษีที่เหมืองภูเก็ต จนกระทั่งเริ่มมีการปฏิรูปการปกครองแผนใหม่ในเมืองตะกั่วป่า ตั้งแต่ปี พ.. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา จึงเริ่มเก็บภาษีแบบใหม่ ส่วนพระนราเทพภักดีศรีราชา (สิทธิ) ซึ่งเป็นผู้รักษาเมืองตะกั่วป่าขณะนั้น ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น “ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า”...ในหนังสือภูมิศาสตร์ประเทศสยาม ซึ่งพิมพ์ในปี พ.. ๒๔๖๘ ได้กล่าวถึงจังหวัดตะกั่วป่าไว้ย่อๆ ว่า “จังหวัดตะกั่วป่า อยู่ถัดจังหวัดพังงาขึ้นไปทางเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒.๕ ล้านไร่ แบ่งเป็น ๓ อำเภอ คือ อำเภอตลาดใหญ่ อำเภอเกาะคอเขา และอำเภอกะปง พื้นที่ประกอบด้วยภูเขาและเนินสูงๆต่ำๆ มีการเพาะปลูกน้อย แร่ดีบุกมีอยู่ทั่วไปและเป็นสินค้าออกสำคัญของจังหวัดนี้”
"We are proud to be the one 
who turns
"waste" into "worth"
quoted by Mr. Udom Bhucharoen
the founder of R.A.T. Trading & Mining (Takuapa) Co., Ltd., 
awarded "the Best Mining Entrepreneur of the Year" in 1987 by the Ministry of Industry-the only company 
with its mineral processing operation in Phang Nga province, 
with the full promotional privileges endorsed by the Thai Government's Board Of Investment (B.O.I.)
A tribute to my most beloved grandfather and my life mentor, 
whose strength, selfless dedication, inspiration and love have nurtured my life.  
Takua Pa... 
is an old peaceful town which has long been known 
as the "tin capital" of the country for over a century.  
It is geologically situated at the heart of one of the world's richest tin deposits. Over the decades the ores have been mined and shipped abroad as tin-in-concentrates, only small amount of metal ingots was produced.
 The leftover materials-"amangs" by tin separation plants and "slags" 
from smelting shops were remarkably dumped as wastes. 
In the old days it was not known how large were the reserved quantities of these materials but one could find them easily in the area of abandoned tin mines.
ตะกั่วป่า...
เป็นเมืองเล็กๆที่เงียบสงบ เมืองนี้เป็นที่รู้จักกันมานานกว่าศตวรรษ ว่าเป็น 
"นครแห่งดีบุก" ของประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ตรงใจกลางของแหล่งแร่ดีบุก ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในอดีต แหล่งแร่นี้ได้ผ่านการทำเหมือง และส่งออกจำหน่าย ในรูปของสินแร่ดีบุกเป็นส่วนใหญ่ มีการผลิตเป็นโลหะดีบุกบ้างเล็กน้อย 
ส่วน "ขี้แร่" หรือ "อามัง" ซึ่งเหลือจากการแต่งเอาสินแร่ดีบุกออกไปแล้ว และ "ขี้ตะกรัน" ที่เหลือจากการถลุงโลหะดีบุก จะถูกกองทิ้งไว้ เช่นเดียวกับวัสดุไร้ค่าเช่นกรวดทราย 
ในสมัยนั้นไม่มีใครทราบว่า ขี้แร่และตะกรันดีบุกมีปริมาณรวมกันเท่าใด 
แต่จะพบกองวัสดุพวกนี้ได้ทั่วไปตามเหมืองร้าง
Until the late 1960s, people turned to know the economic values of amang and slag. Apart from being a major source of cassiterite, deposits in this region also contain various grades of valuable minerals including niobium-tantalum, titanium, zirconium, tungsten and rare earth elements. Garnet, thorium, uranium and diamond are not uncommon. Nowadays, almost all old slags and amangs were gone. Supply of amangs produced from existing tin mines is also decreasing. Two-third of mining firms were forced to close the mines due to the depressed tin prices.
Tin panning, using indigenous wooden batea:
one of  many different ways to wash the sand to find tin.
จนกระทั่งกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี่เองที่เริ่มรู้กันว่าขี้แร่และตะกรันดีบุกนั้นมีค่า แหล่งแร่ในเขตตะกั่วป่าและจังหวัดใกล้เคียงนี้ นอกจากให้ดีบุกเป็นแร่หลักแล้ว ยังมีแร่พลอยได้มีค่าอีกหลายชนิด เช่น กลุ่มแร่ไนโอเบียมแทนทาลัม ไทเทเนียม เซอร์โคเนียม ทังสเตน และธาตุหายาก นอกจากนี้ยังพบกลุ่มแร่การ์เนต ธอเรียม ยูเรเนียม และเพชร อยู่ด้วย ปัจจุบันขี้แร่และตะกรันดีบุกจากเหมืองเก่าถูกขุดไปขายเกือบหมดแล้ว ส่วนขี้แร่ที่ผลิตได้จากเหมืองที่ยังประกอบการอยู่ก็มีปริมาณลดลง เพราะประมาณสองในสาม ของเหมืองแร่ดีบุกทั่วประเทศได้หยุดดำเนินกิจการเนื่องจากราคาแร่ดีบุกตกต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน...เหมืองแร่ในทะเลนับเป็นพื้นที่ประกอบการที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้น เพราะยังมีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์พอทำเหมืองได้ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการทำเหมืองบนบก
It was obvious that offshore mining was the only choice because the deposits there were still economically mineable with comparatively low production cost and less environmental impacts than the onshore operations.
There were simply conventional techniques, employing to separate and upgrade the minerals to the customers' requirements, based on the difference in physical properties among minerals such as specific gravity, magnetic and electrostatic susceptibilities with different machinery, e.g. spiral concentrators, wet and dry magnetic separators, vertical and rotary dryers, wet and dry air shaking tables. There were 8 marketable minerals produced from the production line as follow: Ilmenite, vassiterite, zircon, struverite, columbite-tantalite, rutile, monazite and xenotime. Most minerals were marketed to Europe and the Far East, only zircon and cassiterite were consumed by domestic customers. (technical source, by courtesy of Mr Vichai Bhucharoen, geologist) 
กรรมวิธีการแยกแร่แต่ละชนิดออกจากกันและแต่งแร่ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการซื้อขายของตลาดนั้น อาศัยเทคนิคง่ายๆ ได้แก่ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของแร่ที่แตกต่างกัน เช่น ความถ่วงจำเพาะ ความเป็นสารแม่เหล็ก ความเป็นสารนำไฟฟ้า...เครื่องจักรอุปกรณ์หลักในการแยกและแต่งแร่ประกอบด้วย รางแยกแร่แบบบันไดเวียน เครื่องแยกแม่เหล็กแบบเปียกและแห้ง เตาย่างแร่ โต๊ะสั่นน้ำและโต๊ะสั่นลม เครื่องแยกไฟฟ้าสถิตย์ และเครื่องแยกไฟฟ้าแรงดันสูง เป็นต้น... แร่ที่ผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปจำหน่ายในยุโรปและตะวันออกไกล เฉพาะแร่เซอร์กอนและดีบุกเท่านั้นที่มีตลาดภายในประเทศ... 

Some scenes in this video were taken in Takuapa Old Town, Phang Nga:)
The district was an important tin-dredging area in the first half of the twentieth century, with the English company Siamese Tin Syndicate Ltd., and the Australian company Satupulo No Liability Co., both operating dredges in the rivers, with narrow-gauge tramways following them upstream. The Asiatic Company also had a dredge and tramway further inland at Amphoe Kapong. Siamese Tin was operating here at least as late as 1967, but Thai magnates, such as the late Chuti Bunsung, assumed operations by the early 1980s. By 2008 there were no signs remaining of the mining, as plantations, particularly rubber, have covered the former dredged areas. The public library at Takua Pa town has photographs on display of the dredging and sluicing operations in their heyday in the 1920s and 1930s. The former Asiatic Company workshops can also still be seen in Amphoe Kapong town. 
(source: http://en.wikipedia.org/wiki/Takua_Pa_District)
Read More

Thursday, 23 February 2012

Takuapa at a Glance

Takua Pa at a Glance
According to an Indian chronicle, in 43 B.C. Takua Pa was a major trade seaport on the west coast of the south of Thailand. It was situated in the Arabian maritime route, with a Takua Pa River, being a transportation channel to the east coast near what is now, Chaiya district, Surat Thani province. Takua Pa was then abundant in spices, and was, therefore, called by the Indians as "Takkola", which refers to cardamom.
รถสองแถวตะกั่วป่า
Takua Pa's local transport 
"Two Rows" or "Song Thew" 
The name was later corrupted to be "Takola". As the area also had tin ore in abundance and the town became an exporter of tin, the name "Takola" has been changed to "Takua Pa" as it is currently known.
A number of discoveries reflect the town's glorious past including statues of God Vishnu and a large number of beads found at "Baan Thung Tuek", Koh Kho Khao, which was a stop for Arabian traders in ancient times.
ตะกั่วป่าในเชิงตำนาน เป็นเมืองท่าสำคัญเมืองหนึ่งทางฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ ในราว พ.. ๒๐๐- ๓๐๐ พระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิแห่งประเทศอินเดีย ยกกองทัพมาปราบปรามพวกกลิงคราษฐในอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ จนพวกกลิงคราษฐส่วนหนึ่งอพยพจากถิ่นเดิมเลียบฝั่งทะเลตะวันตก มาจนถึงเมืองตะกั่วป่าและเมืองใกล้เคียง เช่น ตะกั่วทุ่งและถลาง เป็นต้น ปรากฏตามหลักฐานหนังสือมิลินทร์ปัญหา ซึ่งรจนาขึ้นราว พ.. ๕๐๐ ว่า ชาวอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า ตักโกละ หรือ ตกกล  คำ ตักกล ภาษาสิงหล แปลว่า กระวาน เนื่องจากบริเวณนี้อุดมไปด้วยเครื่องเทศ http://books.google.co.th/books?id=a5rG6reWhloC&pg=PA194&lpg=PA194&dq=ancient+greek+geography+ptolemy+Takola&source=bl&ots=_CAfZo-7I_&sig=Cqrqa9-Ovt8Lmg023N8bULgmRsU&hl=en&sa=X&ei=PXbiUa84wYWtB961gKgP&redir_esc=y#v=onepage&q=ancient%20greek%20geography%20ptolemy%20Takola&f=false [...] Thus the Takola of Ptolemy's Geography, which was spelled Takkola in india,[...] มีหลักฐานปรากฎตามแผนที่ประวัติศาสตร์ของแฮมมอนด์ (Hammond Historical Atlas)  http://www.siameseheritage.org/jsspdf/1904/JSS_002_2b_Gerini_HistoricalRetrospectOfJunkCeylonIslandPartI.pdf  และมีโบราณสถาน และโบราณวัตถุประเภทลูกปัด เครื่องภาชนะดินเผา เครื่องแก้ว เป็นหลักฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ณ บริเวณ ทุ่งตึก ที่เกาะคอเขา ต่อมาคำ ตกโกล จึงกลายเป็นเมือง “ตะโกลา” และเนื่องจากบริเวณนี้มีสินแร่อยู่ทั่วไป ตั้งแต่สมัยโบราณมีโรงถลุงแร่เคี่ยวเอาน้ำตะกั่ว ส่งไปขายต่างประเทศ จึงเรียกเมืองตะโลา เป็น “ตะกั่วป่า” ในหนังสือภูมิศาสตร์ปโตเลมี เมื่อราวพ..๘๐๐  http://en.wikipedia.org/wiki/Tambralinga [...] Although geographic location of Holing has been never mentioned in the reports of the pilgrims who had visited the kingdom, there are several reasons that suggest a location on Thai southern coast, which is precisely where the Greek astronomer Claudius Ptolemy said that the main port city of Takola Emporium was located during the first century[...] พรรณนาชื่อเมืองแหลมมลายูนี้ว่ามีเมืองหนึ่งชื่อ “ตะโกลา” (Takola) เป็นที่ค้าขาย (Mart) พระสารสาส์นฯ ตีความว่าน่าจะเป็นเมืองตะกั่วป่า ดังนี้  
. ที่เมืองตะกั่วป่า มีโบราณสถานโบราณวัตถุอยู่เป็นสำคัญว่าเคยเป็นสถานของชาวอินเดียแห่งหนึ่ง 
. พิเคราะห์ในแผนที่ ส่อให้เห็นว่าเมืองตะกั่วป่า คงเป็นสถานที่เรือแล่นข้ามไปอ่าวเบงกอล ไปมาในระหว่างเมืองอินเดียฝ่ายใต้กับแหลมมลายู 
. เจ้ากรมราชกิจได้เคยไปสำรวจแร่ที่เกาะคอเขา ในปากน้ำตะกั่วป่า ขุดพบทองคำ ทรายจมกระจายอยู่ใต้ดินมากมาย สันนิษฐานว่า ที่ตรงนั้นเดิมคงเป็นสถานที่ตั้งค้าขายมาแต่ดึกดำบรรพ์

นายธรรม พานิช มีความเห็นว่า “ตะกั่วป่า” กับ “ตักโกลา” เป็นชื่อเดียวกัน โดย Takola เป็นภาษากรีก ส่วนตะกั่วป่า เป็นภาษาไทย หมายถึงดีบุก  ชาวกรีกเขียนไว้ว่า “คาบสมุทรแหลมทองเริ่มต้นที่ตักโกลา”...
 เมืองตะกั่วป่า เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยโบราณนั้นกล่าวถึงชุมชนนี้้ในชื่อ “ตะโกลา” แสดงว่า ชุมชนแห่งนี้มีผู้คนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นมาแล้วในอดีต และมีความรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาแห่งหนึ่งในคาบสมุทรไทย (จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึงจังหวัดนราธิวาส) มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีได้พบหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องราวของคนสมัยนั้นหลายอย่าง เช่น การพบเครื่องมือหินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวานหินขัดมีรูปหน้าตัดคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นเครื่องมือสำหรับ ตัดและสับ  และภาชนะเครื่องปั้นดินเผารูปทรงต่างๆ เช่น หม้อ ถ้วย จาน ชาม ไห ทั้งชนิดเรียบๆ และมีลวดลายประดับตกแต่ง ร่องรอยที่ยังคงสืบมาจนปัจจุบันเช่น แหล่งโบราณคดีเหมืองทองบ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี และเมือง “ตะโกลา” ซึ่งเชื่อกันว่าเคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยศรีวิชัย มีฐานะเป็นศูนย์อำนาจปกครองท้องถิ่นบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้อยู่เป็นเวลานานหลายศตวรรษ...(อ่านต่อได้ใน post: Takuapa & Tin Capital)
สร้อยคอร้อยด้วยลูกปัดโบราณแบบต่างๆที่พบในอำเภอตะกั่วป่าและพื้นที่ใกล้เคียง
My precious ancient beads & handmade necklaces.

จานกระเบื้องแบบเคลือบขาวรุ่นแรกๆ (Early Porcelain) สมัยราชวงศ์ถังห้าราชวงศ์ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีเหมืองทอง จังหวัดพังงา


เครื่องถ้วยจีนเนื้อขาวแกร่งเคลือบสีมะกอกมีลายประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ จากเตาฉางชา (Changsha kiln) มณฑลเหอหนาน (Hunun) ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ เป็นเครื่องถ้วยที่นิยมส่งออกไปขายที่เปอร์เซีย โรม อียิปต์ (จากแหล่งโบราณคดีเหมืองทอง จังหวัดพังงา)
**********

Read More

Wednesday, 22 February 2012

A cuppa Love

Dears,
Fancy a cup of love in this rainy afternoon? 
...I remember a popular coffee quote...

...
" A good coffee should be:
Black like devil,
Hot like hell,
Sweet like kiss,
and taste like Love." :-)
...
Life's a cuppa coffee...
Live it to the fullest & please don't forget to add 
Lots of Love in your cup:-) xoxo
Read More

Total Pageviews

Pleasure to have you Here!

Powered by Blogger.

© AnnaVanilla, AllRightsReserved.

Designed by ScreenWritersArena