Je Mange. Donc, Je Suis.

Thursday, 6 March 2014

Thai Coconut Rice Balls

ขนมไทยผ่านความทรงจำในอดีต
My Nostalgic Thai Sweets
"ขนมต้มขาว" และ "ขนมโค"
Thai Coconut Rice Balls or Glutinous Rice Dumplings with jaggery & coconut filling, rolled on grated/shredded coconut, known in Thai as "Khanom Tohm Khao": one of my fav. sweets of all time! 
Note* To give colours to rice dumplings, we use natural extracts e.g. pandan leaves extract (green), butterfly pea flower extract (blue), mashed pumpkin (yellowish), mashed carrot (orange), mashed purple yam (purple).
...
In Southern provinces of Thailand, there is one sweet, similar to "Khanom Tohm Khao", called "Khanom Ko". However, only diced coconut sugar is used for Khanom Ko's filling. I love the sensation of the first bite of Khanom Ko...with full of coco-sugar lava in my mouth...:) ...Then again, with my hard-to-cure insatiable curiosity, I hopped on my quirky time-machine for such a great adventure with lots of "aha..." along the way!
So my time-machine kicked my stubborn a#$@...(ouch!!!) over South Indian region, namely "Tamil Nadu" where I finally found what I had been looking for. My long lost soul mate was not there, unfortunately (sigh)! ;) 
...
What I discovered: a special sweet made of glutinous rice flour, of a 5- Baht-coin size, steamed and filled with jaggery & coconut, a.k.a. "Kozukattai". The sweet is typically prepared to celebrate Ganesh Chaturti festival and other auspicious household events such as weddings and births. It is believed that Lord Ganesh has his inclination towards sweets...and the most popular one among variety of special sweets: "Kozhukattai" or in Hindi, it's called "Modhak", which means "That which gives Happiness." 
Ganesh Chaturthi (Vinayagar Chaturti): 
Kozhukattai (South Indian Sweet)
Kozhakkatta (Tamil: கொழுக்கட்டை, Malayalam: കൊഴുക്കട്ട, Marathi: मॊदक, Oriya: ମଣ୍ଡା manda) is a popular Indian sweet dumpling made from rice flour, grated coconut and jaggery, and is similar to Modak made in other parts of India. This dish is popularly associated with Lord Ganesh and Ganesh Chaturti celebrations in South India. The dish is also a part of the traditional Nasrani cuisine of the Syrian Christians of the state of Kerala. The preparation is simple: grated coconut is mixed with jaggery, placed inside dumplings of rice flour and baked. (source: http://en.wikipedia.org/wiki/Kozhukkattai) 
Isn't that amazing? The world is so small (like I always mention)...and we are all connected to one another!
...
In Thailand, Khanom Tohm Khao and Khanom Ko are often prepared and associated with auspicious ceremonies, from Hindu influence since Sukhothai Era...linked to my hometown (Takuapa)'s glorious past...and of course for their reputation of "the ease of preparation" as well as "deliciousness".
According to an Indian chronicle, in 43 B.C. Takua Pa was a major trade seaport on the west coast of the south of Thailand. It was situated in the Arabian maritime route, with a Takua Pa River, being a transportation channel to the east coast near what is now, Chaiya district, Surat Thani province. Takua Pa was then abundant in spices, and was, therefore, called by the Indians as "Takkola", which refers to cardamom.
ขนมต้มขาว
เป็นขนมโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย นำเข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ และลัทธิความเชื่อในเรื่องของเทพเจ้า ซึ่งในสมัยนั้นขนมต้มจะถูกนำไปใช้ในพิธีบรวงสรวง สังเวย ไหว้ครู ถวายศาลพระภูมิเจ้าที่  และเป็นขนมไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ด้วยเหตุที่มีความเชื่อกันว่า ขนมต้มเป็นขนมที่องค์พระพิฆเนศวรทรงโปรดมากที่สุด...
...
ทางปักษ์ใต้บ้านเรา ก็มีขนมคล้ายกับ ขนมต้มขาวของทางภาคกลาง ชื่อว่า "ขนมโค" ส่วนผสม และ วิธีทำเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ ไส้ขนมโคจะเป็น น้ำตาลมะพร้าว หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดเล็ก และไม่ได้ผัดกับมะพร้าวขูด (ไส้กระฉีก) เหมือนขนมต้มขาวในภาคกลาง  เวลาทานขนมโค จะได้อรรถรสก็ตอนที่กัดเนื้อขนม แล้วไส้น้ำตาลแตกละลายในปากดังเป๊าะ เต็มกระพุ้งแก้ม :) 
ความสัมพันธ์ทางประวัติศาตร์ของขนมโคกับพื้นถิ่นใต้นั้นน่าจะสืบเนื่องมาจาก บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ ในอดีตเป็นสะพานเชื่อมโยงการค้าระหว่างโลกตะวันออก (จีน-อินเดียเป็นหลัก)-ตะวันออกไกล-ตะวันตก (อาหรับ-โรมัน) เกิดเป็นชุมชนสถานีการค้าเมืองท่าทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน บรรดาพ่อค้าจากอินเดียและจีนเดินเรือเลียบชายฝั่งมาแลกเปลี่ยนสิ่งของ ตั้งถิ่นฐาน เช่นเมืองตะโกลา (Takola) หรือตะกั่วป่า... เมืองไชยา แหลมโพธิ์ สุราษฎร์ธานี... ตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราช...ซิงก่อร่า สงขลา (บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ)
...
ในการเข้ามาของพ่อค้านักบวช (พราหมณ์-พุทธ) จากอินเดียนั้น ได้นำลัทธิ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธ เข้ามาเผยแพร่ เกิดการผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่น(ผี) ความเชื่อเหล่านี้ได้ฝังหยั่งรากลึกลงบบผืนดินแห่งคาบสมุทร กลายเป็นวัฒนธรรมความเชื่อ การเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนถึงรูปแบบพิธีกรรมเฉพาะถิ่นใต้ขึ้น เช่น การบนบาน องค์พิฆเณศ ด้วยขนมโค เป็นต้น
(ประวัติขนมโค http://kanomco.blogspot.com/2013/02/blog-post_28.html)
ซึ่ง ชื่อ "ขนมโค" นั้น แผลงมาจากชื่อขนมชนิดหนึ่ง พบในแคว้นทมิฬ นาธู และทางอินเดียตอนใต้ ชื่อ "Ko-zhu-kattai" (โคสุกัตไต) เป็นขนมที่ใช้บูชาพระพิฆเนศ ในเทศกาลของชาวฮินดู Ganesh Chaturthi
(ภาษาทมิฬ เรียกว่า Vinayagar Chaturti) 
...
ขนมโคอินเดีย ทำจากแป้งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นแป้งหุ้มไส้ ที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าวผัดกับมะพร้าวขูดและผงจันทน์เทศ แล้วนำไปนึ่ง... ของเขาจะปั้นเป็น สองรูปทรง คือ
1. ลูกกลมๆ แป้นๆ คล้ายขนมหัวล้าน ของทางปักษ์ใต้
2. ทรงหยดน้ำ
และไม่ได้นำมาคลุกมะพร้าวขูดอีกรอบเหมือน ขนมต้มขาว หรือ ขนมโค บ้านเรา *ถ้าเป็นไส้ถั่วเขียวกวน หรือ ถั่วเหลืองกวน ก็มีชื่อเรียกนำหน้า ขนมโค ต่างกันไป...

0 comments:

Post a Comment

Total Pageviews

Pleasure to have you Here!

Powered by Blogger.

© AnnaVanilla, AllRightsReserved.

Designed by ScreenWritersArena