Je Mange. Donc, Je Suis.

Friday 24 February 2012

Takuapa & Tin Capital

...ความเดิม...
จาก "ตะโกลา" สู่ "ตะกั่วป่า"
(นครแห่งดีบุกและวุลแฟรม)  
เมืองตะกั่วป่า เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยโบราณนั้นกล่าวถึงชุมชนนี้้ในชื่อ “ตะโกลา” แสดงว่า ชุมชนแห่งนี้มีผู้คนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นมาแล้วในอดีต และมีความรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาแห่งหนึ่งในคาบสมุทรไทย (จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึงจังหวัดนราธิวาส) มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีได้พบหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องราวของคนสมัยนั้นหลายอย่าง เช่น การพบเครื่องมือหินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวานหินขัดมีรูปหน้าตัดคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นเครื่องมือสำหรับ ตัดและสับ  และภาชนะเครื่องปั้นดินเผารูปทรงต่างๆ เช่น หม้อ ถ้วย จาน ชาม ไห ทั้งชนิดเรียบๆ และมีลวดลายประดับตกแต่ง ร่องรอยที่ยังคงสืบมาจนปัจจุบันเช่น แหล่งโบราณคดีเหมืองทองบ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี และเมือง “ตะโกลา” ซึ่งเชื่อกันว่าเคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยศรีวิชัย มีฐานะเป็นศูนย์อำนาจปกครองท้องถิ่นบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้อยู่เป็นเวลานานหลายศตวรรษ และคงถูกโจมตีอย่างหนักจากพวกโจฬะ ตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนบ้านเมืองเสียหายยับเยินกลายเป็นเมืองร้างไป เพราะผู้คนได้อพยพไปสร้างเมืองใหม่ลึกเข้าไปซึ่งเป็นที่ปลอดภัยกว่า ชื่อเมือง ตะโกลา จึงหายไปจากสำนึกของคนทั่วไป
ในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช ได้เกิดชุมชนขุดแร่ขึ้นใหม่ในบริเวณเมืองตะกั่วป่า และบริเวณใกล้เคียง ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชเรียกชุมชนเหล่านี้รวมกันไปว่า “เมืองตะกั่วถลาง” ซึ่งชาวพื้นเมืองในสมัยนั้นรู้จักแร่ดีบุกในชื่อของแร่ “ตะกั่วดำ” เมืองตะกั่วถลาง คงจะหมายถึงชุมชนขุดแร่ดีบุกขนาดใหญ่หลายแห่งทางชายฝั่งตะวันตกในยุคนั้น ซึ่งอาจจะหมายถึง เมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งเป็นหัวเมืองขึ้นกรมสมุพระกลาโหม ในสมัยอยุธยาตอนกลาง หลังจากชาวยุโรปเข้าไปติดต่อรับซื้อแร่ดีบุกในบริเวณดังกล่าวมากขึ้น เมืองถลางบนเกาะภูเก็ตเริ่มขยายตัวเป็นชุมชนที่สำคัญขึ้นมา เพราะในปี พ.. ๒๑๖๙  พวกดัทช์ ได้เข้าไปตั้งสถานีการค้าและทำสัญญาผูกขาดการค้าดีบุกที่นั่น จึงมีการรวมศูนย์อำนาจปกครองท้องถิ่นขึ้นที่เมืองถลาง เมืองตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่ง จึงกลายเป็นเมืองบริวารของเมืองถลาง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ก็ยังคงสภาพเช่นนั้นมาตลอด ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ในขณะที่หัวเมืองชายฝั่งตะวันตกกำลังมั่งคั่งจากการผลิตและค้าแร่ดีบุก หัวเมืองเหล่านี้ จะได้รับความสนใจจากทางฝ่ายไทย พม่า และบริษัทอังกฤษในอินเดีย ทางฝ่ายไทยได้อาศัยรายได้จากอากรดีบุกเพื่อฟื้นฟูอำนาจขึ้นมาใหม่ ถึงกับส่งขุนนางผู้ใหญ่ไปอยู่ประจำเพื่อรวบรวมพระราชทรัพย์ของหลวงในขณะที่พ่อค้าอังกฤษเข้ามาติดต่อซื้อขายดีบุกที่เกาะภูเก็ตมากขึ้น ทางฝ่ายพม่าก็ได้ส่งกองทัพมาปล้นสะดมหัวเมืองเหล่านี้บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะในปี พ.. ๒๓๒๘ และในปี พ.. ๒๓๕๒ การปล้นสะดมของพม่าทั้งสองครั้งได้ทำลายเมืองตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่งเสียหายยับเยินทุกครั้ง แต่หลังจากพม่าถอนตัวกลับไปแล้ว ชาวเมืองก็กลับมาหาแร่ดีบุกอย่างเดิม สภาพเช่นนี้ทำให้เมืองตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่งไม่อาจจะพัฒนาจนเป็นชุมชนที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงได้ โดยเฉพาะในระยะก่อนปี พ.. ๒๓๖๗ ซึ่งเป็นปีที่พม่าเริ่มทำสงคราม แพ้อังกฤษ และต้องยกมณฑลตะนาวศรีให้แก่อังกฤษ

เมืองตะกั่วป่าในระยะระหว่างปี พ.. ๒๔๐๔ ๒๔๓๓ ได้รับการเชิดชูให้สูงขึ้นมากกว่าหรือเท่าเทียมกับเมืองพังงาและถลางในอดีตอย่างแท้จริง เจ้าเมืองมีอำนาจมากเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองและมีหน้าที่ดูแลเมืองอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะเมืองตะกั่วทุ่ง ภูเก็ต และถลาง ในระยะแรกๆ แต่อย่างไรก็ตาม หัวเมืองชายฝั่งตะวันตกในระยะดังกล่าว ต่างก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการสินแร่ดีบุกในตลาดโลก เพื่อนำไปทำแผ่นเหล็กอาบดีบุก ในขณะเดียวกันเจ้าเมืองตะกั่วป่าและเมืองอื่นๆ มั่งคั่งขึ้นจากการผูกขาดทำภาษีแบบ “เหมาเมือง” ดังจะเห็นได้จากจำนวนภาษีที่รับผูกขาดไปจากสมุหพระกลาโหม ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากปีละ ๒๖,๙๖๐ บาท ก่อนปี พ.. ๒๔๑๕ เป็นปีละ ๒๙,๐๔๐ บาท ในปี พ.. ๒๔๑๕ และ ปีละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ในปี พ.. ๒๔๑๘ หรือเพิ่มขึ้นกว่า ๔ เท่าตัวในระยะเวลาเพียง ๓-๔ ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความมั่งคั่งของเมืองตะกั่วป่าและเจ้าเมืองตะกั่วป่าเกิดขึ้นในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญทั้งในเมืองตะกั่วป่าเองและในส่วนกลาง

ในเมืองตะกั่วป่า ชาวจีนได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่จำนวนมากและแตกออกเป็นพวกๆ เป็นพวกยี่ปุนเถ้าก๋ง และโฮ่เซ่ง เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์จาการทำเหมืองแร่ และกลายเป็นกลุ่มอิทธิพลที่เจ้าเมืองและกรมการเมืองอื่นๆ ต้องยอมรับโดยแต่งตั้งหัวหน้าชาวจีนขึ้นเป็นกรมการเมืองตำแหน่งหลวงบำรุงจีนประชา และขุนรักษาจีนประเทศ นายอำเภอจีนที่ ๑ และที่ ๒ แต่ก็ไม่สามารถระงับปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ของชาวจีนได้ ชาวจีนจึงก่อความวุ่นวายขึ้นบ่อยๆ แต่โชคดีที่เมืองตะกั่วป่ามีคนจีนอาศัยอยู่น้อยกว่าที่ภูเก็ตและระนอง การจลาจลจึงเกิดขึ้นในเมืองเหล่านี้ก่อนแล้วจึงลุกลามมาถึงเมืองตะกั่วป่าซึ่งไม่รุนแรงมากนัก เจ้าเมืแงและกรมการเมืองสามารถรักษาสถานการณ์ไว้ได้ทุกครั้งไม่ว่าในปี พ.ศ ๒๔๑๐ หรือ ปี พ.. ๒๔๑๙ พระยาเสนานุชิต (นุช) เจ้าเมืองตะกั่วป่าขณะนั้นก็ไม่ประมาท ได้สร้างกำแพงค่ายล้อมจวนของตนไว้อย่างแข็งแรงสำหรับป้องกันพวกอั้งยี่ และรับผู้คนที่แตกตื่นหนีภัยเข้าไปอาศัยอยู่ในค่ายด้วย รวมพวกอั้งยี่ที่บาดเจ็บและแตกหนีศัตรูมา ซึ่งผลจากการก่อความวุ่นวายของชาวจีนครั้งนั้น ทำให้การผลิตแร่ดีบุกต้องชะงักลง มีผลเสียต่อภาวะเศรษฐกิจของหัวเมืองเหล่านี้อย่างมาก เพราะคนจีนอพยพกลับเสียมาก บ้านเมืองจึงร่วงโรยลง และยังถูกซ้ำเติมจากราคาดีบุกในตลาดโลกซึ่งตกต่ำอีกด้วย และหลังจากมีการขึ้นภาษีเป็นปีละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ในระหว่างปี พ.. ๒๔๑๘ -๒๔๒๑ การทำภาษีแบบเหมาเมืองในเมืองตะกั่วป่าก็เริ่มขาดทุน ในระหว่างปี พ.. ๒๔๒๒ -๒๔๒๕ พระยาเสนานุชิต (เอี่ยม) เจ้าเมืองตะกั่วป่าขณะนั้น จึงขอลดภาษีลง เป็นปีละ ๗๒,๐๐๐ บาท แต่บังเอิญในปี พ.. ๒๔๒๔ ชาวจีนในเมืองตะกั่วป่าได้ก่อการจลาจลอีก จึงทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมลงอย่างหนัก ภาษีที่เก็บได้จึงลดลงไปอีก ไม่สามารถเก็บได้ตามที่ประมูลมา จึงทำให้ค้างภาษีรัฐบาลกลางระหว่างปี พ.. ๒๔๒๘ ๒๔๓๔ เป็นจำนวนเงินถึง ๒๘๕,๓๑๕ บาท ถูกเรียกตัวไปเร่งภาษีที่เหมืองภูเก็ต จนกระทั่งเริ่มมีการปฏิรูปการปกครองแผนใหม่ในเมืองตะกั่วป่า ตั้งแต่ปี พ.. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา จึงเริ่มเก็บภาษีแบบใหม่ ส่วนพระนราเทพภักดีศรีราชา (สิทธิ) ซึ่งเป็นผู้รักษาเมืองตะกั่วป่าขณะนั้น ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น “ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า”...ในหนังสือภูมิศาสตร์ประเทศสยาม ซึ่งพิมพ์ในปี พ.. ๒๔๖๘ ได้กล่าวถึงจังหวัดตะกั่วป่าไว้ย่อๆ ว่า “จังหวัดตะกั่วป่า อยู่ถัดจังหวัดพังงาขึ้นไปทางเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒.๕ ล้านไร่ แบ่งเป็น ๓ อำเภอ คือ อำเภอตลาดใหญ่ อำเภอเกาะคอเขา และอำเภอกะปง พื้นที่ประกอบด้วยภูเขาและเนินสูงๆต่ำๆ มีการเพาะปลูกน้อย แร่ดีบุกมีอยู่ทั่วไปและเป็นสินค้าออกสำคัญของจังหวัดนี้”
"We are proud to be the one 
who turns
"waste" into "worth"
quoted by Mr. Udom Bhucharoen
the founder of R.A.T. Trading & Mining (Takuapa) Co., Ltd., 
awarded "the Best Mining Entrepreneur of the Year" in 1987 by the Ministry of Industry-the only company 
with its mineral processing operation in Phang Nga province, 
with the full promotional privileges endorsed by the Thai Government's Board Of Investment (B.O.I.)
A tribute to my most beloved grandfather and my life mentor, 
whose strength, selfless dedication, inspiration and love have nurtured my life.  
Takua Pa... 
is an old peaceful town which has long been known 
as the "tin capital" of the country for over a century.  
It is geologically situated at the heart of one of the world's richest tin deposits. Over the decades the ores have been mined and shipped abroad as tin-in-concentrates, only small amount of metal ingots was produced.
 The leftover materials-"amangs" by tin separation plants and "slags" 
from smelting shops were remarkably dumped as wastes. 
In the old days it was not known how large were the reserved quantities of these materials but one could find them easily in the area of abandoned tin mines.
ตะกั่วป่า...
เป็นเมืองเล็กๆที่เงียบสงบ เมืองนี้เป็นที่รู้จักกันมานานกว่าศตวรรษ ว่าเป็น 
"นครแห่งดีบุก" ของประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ตรงใจกลางของแหล่งแร่ดีบุก ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในอดีต แหล่งแร่นี้ได้ผ่านการทำเหมือง และส่งออกจำหน่าย ในรูปของสินแร่ดีบุกเป็นส่วนใหญ่ มีการผลิตเป็นโลหะดีบุกบ้างเล็กน้อย 
ส่วน "ขี้แร่" หรือ "อามัง" ซึ่งเหลือจากการแต่งเอาสินแร่ดีบุกออกไปแล้ว และ "ขี้ตะกรัน" ที่เหลือจากการถลุงโลหะดีบุก จะถูกกองทิ้งไว้ เช่นเดียวกับวัสดุไร้ค่าเช่นกรวดทราย 
ในสมัยนั้นไม่มีใครทราบว่า ขี้แร่และตะกรันดีบุกมีปริมาณรวมกันเท่าใด 
แต่จะพบกองวัสดุพวกนี้ได้ทั่วไปตามเหมืองร้าง
Until the late 1960s, people turned to know the economic values of amang and slag. Apart from being a major source of cassiterite, deposits in this region also contain various grades of valuable minerals including niobium-tantalum, titanium, zirconium, tungsten and rare earth elements. Garnet, thorium, uranium and diamond are not uncommon. Nowadays, almost all old slags and amangs were gone. Supply of amangs produced from existing tin mines is also decreasing. Two-third of mining firms were forced to close the mines due to the depressed tin prices.
Tin panning, using indigenous wooden batea:
one of  many different ways to wash the sand to find tin.
จนกระทั่งกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี่เองที่เริ่มรู้กันว่าขี้แร่และตะกรันดีบุกนั้นมีค่า แหล่งแร่ในเขตตะกั่วป่าและจังหวัดใกล้เคียงนี้ นอกจากให้ดีบุกเป็นแร่หลักแล้ว ยังมีแร่พลอยได้มีค่าอีกหลายชนิด เช่น กลุ่มแร่ไนโอเบียมแทนทาลัม ไทเทเนียม เซอร์โคเนียม ทังสเตน และธาตุหายาก นอกจากนี้ยังพบกลุ่มแร่การ์เนต ธอเรียม ยูเรเนียม และเพชร อยู่ด้วย ปัจจุบันขี้แร่และตะกรันดีบุกจากเหมืองเก่าถูกขุดไปขายเกือบหมดแล้ว ส่วนขี้แร่ที่ผลิตได้จากเหมืองที่ยังประกอบการอยู่ก็มีปริมาณลดลง เพราะประมาณสองในสาม ของเหมืองแร่ดีบุกทั่วประเทศได้หยุดดำเนินกิจการเนื่องจากราคาแร่ดีบุกตกต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน...เหมืองแร่ในทะเลนับเป็นพื้นที่ประกอบการที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้น เพราะยังมีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์พอทำเหมืองได้ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการทำเหมืองบนบก
It was obvious that offshore mining was the only choice because the deposits there were still economically mineable with comparatively low production cost and less environmental impacts than the onshore operations.
There were simply conventional techniques, employing to separate and upgrade the minerals to the customers' requirements, based on the difference in physical properties among minerals such as specific gravity, magnetic and electrostatic susceptibilities with different machinery, e.g. spiral concentrators, wet and dry magnetic separators, vertical and rotary dryers, wet and dry air shaking tables. There were 8 marketable minerals produced from the production line as follow: Ilmenite, vassiterite, zircon, struverite, columbite-tantalite, rutile, monazite and xenotime. Most minerals were marketed to Europe and the Far East, only zircon and cassiterite were consumed by domestic customers. (technical source, by courtesy of Mr Vichai Bhucharoen, geologist) 
กรรมวิธีการแยกแร่แต่ละชนิดออกจากกันและแต่งแร่ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการซื้อขายของตลาดนั้น อาศัยเทคนิคง่ายๆ ได้แก่ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของแร่ที่แตกต่างกัน เช่น ความถ่วงจำเพาะ ความเป็นสารแม่เหล็ก ความเป็นสารนำไฟฟ้า...เครื่องจักรอุปกรณ์หลักในการแยกและแต่งแร่ประกอบด้วย รางแยกแร่แบบบันไดเวียน เครื่องแยกแม่เหล็กแบบเปียกและแห้ง เตาย่างแร่ โต๊ะสั่นน้ำและโต๊ะสั่นลม เครื่องแยกไฟฟ้าสถิตย์ และเครื่องแยกไฟฟ้าแรงดันสูง เป็นต้น... แร่ที่ผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปจำหน่ายในยุโรปและตะวันออกไกล เฉพาะแร่เซอร์กอนและดีบุกเท่านั้นที่มีตลาดภายในประเทศ... 

Some scenes in this video were taken in Takuapa Old Town, Phang Nga:)
The district was an important tin-dredging area in the first half of the twentieth century, with the English company Siamese Tin Syndicate Ltd., and the Australian company Satupulo No Liability Co., both operating dredges in the rivers, with narrow-gauge tramways following them upstream. The Asiatic Company also had a dredge and tramway further inland at Amphoe Kapong. Siamese Tin was operating here at least as late as 1967, but Thai magnates, such as the late Chuti Bunsung, assumed operations by the early 1980s. By 2008 there were no signs remaining of the mining, as plantations, particularly rubber, have covered the former dredged areas. The public library at Takua Pa town has photographs on display of the dredging and sluicing operations in their heyday in the 1920s and 1930s. The former Asiatic Company workshops can also still be seen in Amphoe Kapong town. 
(source: http://en.wikipedia.org/wiki/Takua_Pa_District)

0 comments:

Post a Comment

Total Pageviews

Pleasure to have you Here!

Powered by Blogger.

© AnnaVanilla, AllRightsReserved.

Designed by ScreenWritersArena